ป่าหิมพานต์ สัตว์หิมพานต์

ป่าหิมพานต์ เป็นชื่ของป่าที่เป็นตำนานโบราณ วรรณคดีไทยหลายเรื่อง ได้พูดถึงป่าหิมพานต์นี้ และได้พรรณาถึงลักษณะของป่านี้ในแง่มุมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การบรรยายถึงภาพบรรยากาศของ ความปรำปรา ความลึกลับ เหนือธรรมชาติรเวลาพูดถึงเรื่องความมหัศจรรย์ต่างๆ ก็มักจะอ้างอิงเข้าไปในป่าหิมพานต์แห่งนี้ หลักฐานการกล่าวถึงป่าหิมมานต์นี้มีปรากฏเป็นหลักฐานในคัมภีย์เก่าแก่ คือ ไตรภูมิพระร่วง ซึ่งเป็นบันทึกเก่าแก่ที่สร้างในยุคสุโขทัย โดยไตรภูมิพระร่วงได้กล่าวถึงภพภูมิต่างๆ ที่เป็นสถานที่เวียนว่ายตายเกิดของมนุษย์ และพูดถึง จักรวาล ตลอดจนพระนิพพานที่เป็นที่สิ้นสุดแห่งการเวียนว่ายตายเกิด และในไตรภูมิพระร่วงนี้เองได้กล่าวถึง ป่าหิมพานต์นี้ด้วย โดยอธิบายว่า ป่าหิมพานต์ ตั้งอยู่ในชมพูทวีป ซึ่งเป็นหนึ่งในทวีปที่ใหญ่ โดยบนเขามีสระน้ำใหญ่ 7 สระ สระสำคัญประกอบด้วย

1.สระอโนดาต
2.สระกัณณมุณฑะ
3.สระรถการะ
4.สระฉัททันตะ
5.สระกุณาละ
6.สระมัณฑากิณี
7.สระสีหัปปาตะ

โดยสระแต่ละสระ จะเป็นที่อยู่ของสัตว์หิมพานต์ต่างๆอาทิเช่น สระฉัททันตะเป็นที่อยู่ของพญาช้าง และสระอโนดาต ที่เป็นยอดเขาของป่าหิมพานต์ ในป่านี้มีสัตว์และพันธ์ุไม้ประหลาดมากมาย เช่น มีต้นหว้าใหญ่ที่เอามือล้วงเข้าไปสุดแขนจึงจะถึงเมล็ด ยางของต้นหว้าเมื่อตกลงในน้ำจะกลายเป็นทองคำ นกที่กินลูกหว้าก็มีขนาดเท่าบ้านเรือน ป่าหิมพานต์จึงเป็นพื้นที่สำคัญที่จิตรกรและกวีจะสร้างสรรค์เรื่องราวน่าอัศจรรย์ รวมไปถึงสัตว์พิเศษพันธุ์ผสมทั้งหลายจากป่าหิมพานต์นี้

สัตว์หิมพานต์ เป็นสัตว์ที่มีลักษณะพิเศษ ไม่เหมือนกับสัตว์ทั่วไป มีความแปลกประหลาดและอัศจรรย์ โดยอิทธิพลเป็นลักษณะของสัตว์หิมพานต์นี้เป็นอิทธิพลที่สำคัญในแง่ของประวัติศาสตร์ และศาสตร์ต่างๆของไทย เช่นการรูปของสัตว์หิมพานต์ต่างๆมาสร้างเป็นตรากระทรวงทบวงกรมต่างๆ ของไทยเช่น คชสีห์เป็นตราประจำกระทรวงกลาโหม หรือราชสีห์เป็นตราเป็นกระทรวงมหาดไทย และพญาครุฑเป็นตราแผ่นดินเป็นต้น รูปของสัตว์หิมพานต์นี้ยังมีอิทธิพลต่อศาสตร์ทางด้านพระเวทย์วิทยาคม หรือตำราทางคาถาอาคมของไทยอีกด้วย โดยเกจิอาจารย์โบราณมักนำรูปสัตว์หิมพานต์นี้มาสร้างเป็นรูปยันต์ทำการลงอักขระคาถาต่างๆ นอกจากนั้นอิทธิพลของป่าหิมพานต์ ยังปรากฏในพระพุทธศาสนา โดยศาสนสถานต่างๆ ยังได้วาดรูปป่าหิมพานต์ไว้ตามโบถก์ วิหาร หรือศาลาอีกด้วย

ตัวอย่างของสัตว์หิมพานต์มีดังนี้

1.กิเลน
– กิเลนจีน
– กิเลนไทย
– กิเลนปีก
2.ประเภทกวาง
– มารีศ
– พานรมฤค
– อัปสรสีหะ
3.ประเภทสิงห์
– บัณฑุราชสีห์
– กาฬสีหะ
– ไกรสรราชสีห์
– ติณสีหะ
– เกสรสิงห์
– เหมราช
– คชสีห์
– ไกรสรจำแลง
– ไกรสรคาวี
– ไกรสรนาคา
– ไกรสรปักษา
– โลโต
– พยัคฆ์ไกรสร
– สางแปรง
– สกุณไกรสร
– สิงฆ์
– สิงหคาวี
– สิงหคักคา
– สิงหพานร
– สิงโตจีน
– สีหรามังกร
– เทพนรสีห์
– ฑิชากรจตุบท
– โต
– โตเทพสิงฆนัต
– ทักทอ
4.ประเภทม้า
– ดุรงค์ไกรสร
– ดุรงค์ปักษิณ
– เหมราอัสดร
– ม้า
– ม้าปีก
– งายไส
– สินธพกุญชร
– สินธกนธี
– โตเทพอัสดร
– อัสดรเหรา
– อัสดรวิหค
6.แรด
7.ประเภทช้าง
– เอราวัณ
– กรินทร์ปักษา
– วารีกุญชร
– ช้างเผือก
8.ประเภทวัวควาย
– มังกรวิหค
– ทรพี / ทรพา
9.ประเภทลิง
– กบิลปักษา
– มัจฉานุ
10.ประเภทสุนัข
11.สัตว์ประเภทนก
– อสูรปักษา
– อสุรวายุพักตร์
– ไก่
– นกการเวก
– ครุฑ
– หงส์
– หงส์จีน
– คชปักษา
– มยุระคนธรรพ์
– มยุระเวนไตย
– มังกรสกุณี
– นาคปักษี
– นาคปักษิณ
– นกหัสดี
– นกอินทรี
– นกเทศ
– พยัคฆ์เวนไตย
– นกสดายุ
– เสือปีก
– สกุณเหรา
– สินธุปักษี
– สีหสุบรรณ
– สุบรรณเหรา
– นกสัมพาที
– เทพกินนร
– เทพกินรี
– เทพปักษี
– นกทัณฑิมา
11.ประเภทปลา
– เหมวาริน
– กุญชรวารี
– มัจฉนาคา
– มัจฉวาฬ
– นางเงือก
– ปลาควาย
– ปลาเสือ
– ศฤงคมัสยา
12.ประเภทจระเข้
– กุมภีร์นิมิต
– เหรา
13.ประเภทปู
14.ประเภทนาค
15.ประเภทกึ่งมนุษย์
– คนธรรพ์
– มักกะลีผล

ใส่ความเห็น

This site uses Akismet to reduce spam. Learn how your comment data is processed.